วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักคำสอนพื้นฐาน


ศาสนาอิสลาม มีพิธีกรรม และหลักคำสอนเพื่อให้ปฏิบัติตามดังนี้
๑ ) หลักศรัทธา ๖ ประการ ได้แก่
( ๑ ) ศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์ มุสลิม เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ผู้เป็น มุสลิม จะต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว
( ๒ ) ศรัทธาต่อเทพบริวารของพระอัลลอฮ์ (เทวทูต) คือ ผู้รับใช้พระเจ้าซึ่งมีจำนวนมากมีหน้าที่ต่างๆ กัน เทวทูตเป็นคนกลางทำหน้าที่สื่อสาร ระหว่างท่านนบีมุฮัมมัดกับพระเจ้า กล่าวคือ ท่านนบีมูฮัมมัด ได้รับโองการจากพระเจ้าโดยทางเทวทูต ซึ่งเรียกว่า “ มลาอีกะฮ์ ” เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น แต่สามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ตามบัญชาของพระอัลลอฮ์


(๓ ) ศรัทธาในพระคัมภีร์ทั้งหลาย คือ คัมภีร์ที่พระเจ้าได้ประทานมาก่อนหน้านี้ 104 คัมภีร์ ซึ่งรวมทั้งคัมภีร์ของศาสนายูดาย และศาสนาคริสต์ แต่ให้ถือว่าคัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์สุดท้าย และสมบูรณ์ที่สุด ที่พระเจ้าได้ประทานพรลงมาให้แก่มนุษยชาติ โดยผ่านทางศาสดามุฮัมมัด
( ๔ ) ศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต ศาสนทูตเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่พระเจ้าได้เลือกสรรว่าเป็นคนดี เหมาะแก่การที่จะเป็นผู้ประกาศศาสนา ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตองค์สุดท้าย
( ๕ ) ศรัทธาในวันพิพากษา คือ วันสุดท้ายของโลก ชาว มุสลิม เชื่อว่าโลกมีวันแตกดับ เมื่อถึงวันนั้นมนุษย์ทุกคนต้องตาย และจะถูกทำให้ฟื้นขึ้นมา เพื่อพิจารณาโทษ ด้วยการสอบสวนพิพากษาตามความดีความชั่วที่ตนได้กระทำไว้
( ๖ ) ศรัทธาในการกำหนดสภาวะของโลก และชีวิต ว่าเป็นไปตามเจตจำนงของพระอัลลอฮ์

( ๒ ) หลักปฏิบัติ ๕ ประการ
          การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาของ ศาสนาอิสลาม จะปฏิบัติในสถานที่ที่เรียกว่า “ มัสยิด ” หรือ “ สุเหร่า ” ชาว มุสลิม จะต้องปฏิบัติศาสนกิจให้พร้อมทั้ง ๓ ทาง คือ กาย วาจา และใจ หลักปฏิบัติสำคัญใน ศาสนาอิสลาม ๕ ประการ ได้แก่
( ๑ ) การปฏิญาณตน มุสลิม ต้องกล่าวปฏิญาณว่า “ ข้าพเจ้า ขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต ( รอซูล ) ของอัลลอฮ์ “ การปฏิญาณนี้เปรียบเสมือนหัวใจของ ศาสนาอิสลาม ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมิใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำเสมอเมื่อนมัสการพระเจ้า (ละหมาด)
( ๒ ) การละหมาด คือ การนมัสการ หรือ การแสดงความเคารพต่อพระเจ้า ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ชาว มุสลิม ทุกคนจะต้องปฏิบัติละหมาดวันละ ๕ เวลา คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน ซึ่งก่อนทำละหมาดจะต้องชำระร่างกายให้สะอาด และสำรวมจิตใจให้สงบ
( ๓ ) การถือศีลอด หมายถึง การละเว้นจากการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน มุสลิม จะต้องถือศีลอดปีละ ๑ เดือน คือ ในเดือนรอมาฎอนตามปฏิทินของอิสลาม ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศีลอด ได้แก่ คนชรา หญิงมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน คนที่ต้องทำงานหนัก คนเดินทางไกล หญิงขณะมีรอบเดือนหรือหลังคลอด คนป่วย การถือศีลอดเป็นการแสดงถึงความศรัทธาในพระเจ้า ฝึกความอดทน และความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
( ๔ ) การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทานให้แก่คนที่เหมาะสม ตามที่ศาสนากำหนด เช่น คนอนาถา เด็กกำพร้า คนขัดสน ผู้เผยแผ่ศาสนา การบริจาคซะกาต เป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ ชาว มุสลิม หรือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องสละทรัพย์ของตนในอัตราร้อยละ ๒.๕ เพื่อแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น เป็นการกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
( ๕ ) การประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง การไปประกอบศาสนกิจ ณ ศาสนสถานบัยตุลลอฮ์ เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย การประกอบพิธีฮัจญ์ไม่ได้บังคับให้ชาว มุสลิม ต้องกระทำ แต่ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่พร้อม และมีความสามารถ คือ บรรลุนิติภาวะ มีสุขภาพดี มีทุนทรัพย์เพียงพอ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น